ฉนวนความร้อน คือ วัตถุหรือวัสดุที่สามารถป้องกันไม่ให้พลังงานความร้อนผ่านจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง ซึ่งความสามารถในการป้องกันความร้อนจะขึ้นอยู่กับชนิดและคุณสมบัติของวัสดุฉนวนนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น
– ฉนวนที่มีส่วนประกอบใยแก้ว เป็นฉนวนที่มีส่วนประกอบของเส้นใยแก้ว เป็นฉนวนที่ได้รับความนิยมสูง เนื่องจากสามารถใช้งานได้หลากหลาย อีกทั้งช่วยป้องกันไม่ให้อุณหภูมิภายนอกเข้ามาภายในตึก บ้านหรือสถานที่นั้น ๆ มากจนเกินไป


– ฉนวนที่มีส่วนประกอบเส้นใยแร่ เป็นเส้นใยที่ผลิตโดยมนุษย์ ซึ่งมีการนำแร่จากธรรมชาติมาผ่านกระบวนการผลิต แบ่งออกเป็น rock wool และ slag wool ขึ้นอยู่กับส่วนประกอบของแต่ละประเภท มีความสามารถในการทนความร้อนได้สูง

– ฉนวนที่มีส่วนประกอบของ Polyurethane เป็นฉนวนที่ใช้งานได้ง่ายมีทั้งรูปแบบของแผ่น และสเปรย์ สามารถกันความร้อนและความเย็น การรั่วซึม ได้ดี

โดยการเลือกใช้งานฉนวนกันความร้อนแต่ละประเภทขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานว่าต้องการใช้งานกับพื้นที่ลักษณะใด อุณหภูมิใช้งานเท่าไร เป็นต้น เมื่อเราทราบข้อมูลขั้นพื้นฐานในการเลือกฉนวนแล้ว เราจะสามารถเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม
คุณสมบัติของฉนวนกันความร้อน
ค่าการนำความร้อน (Thermal conductivity: K-value) ความสามารถปล่อยให้ความร้อนผ่านเข้ามาของวัสดุ ถ้าเป็นฉนวนที่ดีจะมีค่า K-value ต่ำ เนื่องจากวัสดุปล่อยให้ความร้อนผ่านเข้ามาได้น้อย
ค่าการต้านทานความร้อนของวัสดุ (Thermal Resistance ; R-value) ความสามารถยังยั้งการไหลผ่านของความร้อน โดยปัจจัยการต้านความร้อนขึ้นอยู่กับ ความหนาของฉนวน (Thickness) และ ค่าการนำความร้อน (K-value) การหาค่า R-value = Thickness/K-value
ค่าการถ่ายเทความร้อน (Heat transfer coefficient : U-value) ค่าการปล่อยให้ความร้อนไหลเข้ามาในอาคาร โดยอุณหภูมิของทั้งสองด้านต้องแตกต่างกัน การหาค่า U-value = 1/R-value